หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติวัดโนนสว่าง

ประวัติวัดโนนสว่าง
วัดโนนสว่าง  เลขที่  300  หมู่ที่  3  ถนนอุดร-กุดหมากไฟ  ต.หมากหญ้า  อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี  41360  โทร. 042-285875
    ได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่  9  เดือนกันยายน  พ.ศ. 2531
    ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่  29  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2532
    ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  15  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2539
    ขนาดของวิสุงคามสีมา  กว้าง  16  เมตร  ยาว  28  เมตร
    ที่ดินตั้งวัด  20  ไร่  ต่อมาขยายเพิ่มเติมอีก  45  ไร่
เจ้าอาวาส  คือ  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม  นามเดิม  เจริญ  ฉายา  ฐานยุตฺโต  นามสกุล สารักษ์  อายุ  44  ปี  พรรษา  24  วิทยฐานะ  น.ธ.เอก  สำนักเดิม  วัดบุญญานุสรณ์  บรรพชาเป็นสามเณร  มีพระครูประสิทธิ์คณานุการ (คำดี  ธมฺมธโร)  เป็นพระอุปัชฌาย์  อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  มีพระครูสิริธรรมวัฒน์ (ทองพูน  สิริกาโม)  เป็นพระอุปัชฌาย์
    เป็นเจ้าอาวาส  เมื่อวันที่  1  ธันวาคม  พ.ศ. 2532
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ครั้งแรก  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ.  2537
    ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นโท  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ. 2542
    ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหมากหญ้า (ธ)  เมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.  2542
    มีพระภิกษุ-สามเณร  จำพรรษาปี  พ.ศ.  2547  รวม  50  รูป
ประวัติพระครูพิพัฒน์วิทยาคมโดยสังเขป

    พระครูพิพัฒน์วิทยาคม  (พระอาจารย์เจริญ  ฐานยุตฺโต)  มีนามเดิมว่า  เจริญ  นามสกุล สารักษ์ เกิดเมื่อ  วันพุธ  ตอนใกล้รุ่ง  ตรงกับวันที่  7  มิถุนายน  พ.ศ. 2504  ณ บ้านหนองวัวซอ  ต.หมากหญ้า (ปัจจุบัน คือ ตำบลหนองวัวซอ)  อ.หนองวัวซอ  จ.อุดรธานี
    โยมบิดาชื่อ  นายสงวน  สารักษ์  โดยพื้นเพต้นตระกูลเป็นคนบ้านหนองไข่นกม่วงสามสิบ  จ.อุบลราชธานี  โดยได้มาอยู่ที่อำเภอหนองวัวซอ  โดยมีปู่คือ พ่อใหญ่สารวัตรนา  สารักษ์  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านหนองวัวซอ  และมีย่า คือ แม่บัวมี  อัควงษ์  ซึ่งพื้นเพมีเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองในสมัยเก่าของจังหวัดหนองบัวลำภู
    โยมมารดาชื่อ นางฮวด  สกุลเดิม  โคตรรวิช  โดยพื้นเพเป็นคนบ้านเชียงหวาง อ.เพ็ญ จ.อุดรธานีต่อมาโยมมารดาได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ที่บ้านโนนทัน  จ.หนองบัวลำภู และแต่งงานกับโยมบิดาที่บ้านหนองวัวซอ  ได้ประกอบสัมมาอาชีพ  ทำไร่  ทำนา  ต่อมาได้ให้กำเนิดบุตรธิดาด้วยกัน  10  คน คือ
        1.  นายทองม้วน        สารักษ์
        2.  นายบุญชุ่ม        สารักษ์
        3.  นายบุญคุ้ม        สารักษ์
         4.  นางหนูเล็ก        สารักษ์
        5.  นายบุญเชิญ        สารักษ์
        6.  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (พระอาจารย์เจริญ  สารักษ์)
        7.  นางหนูเกียรติ    สารักษ์
        8.  นายสมยศ        สารักษ์
        9.  นายสมศักดิ์        สารักษ์
               10.  นายสมควร        สารักษ์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)  
    เมื่ออายุเข้าเกณฑ์การศึกษา  นายสงวน  สารักษ์  ผู้เป็นบิดาได้นำเด็กชายเจริญ  สารักษ์  เข้าศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษา  4  (ประถม  4  คือ ภาคบังคับในสมัยนั้น)  ณ  โรงเรียนบ้านหนองวัวซอ (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลหนองวัวซอ)  เมื่อจบการศึกษาในภาคบังคับแล้ว  เด็กชายเจริญ  สารักษ์  ก็มิได้คิดจะศึกษาเล่าเรียน  อีกทั้งมีจิตใจปฏิพัทธ์ในรสพระธรรม  จึงได้บรรพชาบวชเรียนเป็นสามเณร  ณ  วัดบุญญานุสรณ์  บ้านหนองวัวซอ  ต.หนองวัวซอ  จ.อุดรธานี    โดยมีท่านพระครูประสิทธิ์คณานุการ
(คำดี  ธมฺมธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์  เมื่อสามเณรเจริญ  สารักษ์  มีอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2524  ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ณ  อุโบสถวัดป่าสามัคคีอุปถัมภ์  อ.บีงกาฬ  จ.หนองคาย  โดยมีพระครูสิริธรรมวัฒน์  (ทองพูน  สิริกาโม)  เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูสุนทรนวกิจ  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระครูวินัยกิจโสภณ  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาในทางพระพุทธศาสนาว่าฐานยุตฺโต ในคณะธรรมยุตติกนิกาย
    พระครูพิพัฒน์วิทยาคม  ได้รับนิมนต์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโนนสว่าง  บ้านโนนสว่าง  ซึ่งแต่เดิมมีสถานะเป็นสำนักสงฆ์  ภายหลังจากท่านเจ้าอาวาสรูปเดิมคือพระครูพุทธศาสโนวาท (พระอาจารย์ชาลี  ถาวโร)  ได้ถึงแก่มรณภาพลง  ซึ่งท่านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์แห่งนี้  จนมีสถานะเป็นวัดเมื่อวันที่  29  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2532  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  23  พฤษภาคม  พ.ศ. 2539  เริ่มมีการสร้างเสนาสนะที่พักสงฆ์  ศาลาการเปรียญที่ปฏิบัติธรรม  จนทำให้วัดโนนสว่างแห่งนี้เจริญรุ่งรืองสืบต่อมา

สมณศักดิ์และหน้าที่การงานทางคณะสงฆ์

วันที่  1  ธันวาคม  พ.ศ.  2532    ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนสว่าง
วันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ.  2537    ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี  มีราชทินนามที่  พระครูพิพัฒน์วิทยาคม  
วันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.  2542    เป็นเจ้าคณะตำบลหมากหญ้า  ธรรมยุต
วันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ.  2542    ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์  เจ้าคณะตำบลชั้นโท
วันที่  19  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2543  เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

ประวัติวัดไร่สวรรค์

ประวัติวัดไร่สวรรค์


วัดไร่สวรรค์เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมีพระธรรมปริยัติโมลี (อดีตเจ้าคณะภาค ๘ และอดีตเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสพระอารามหลวง) เป็นประธาน มีพระครูโพธานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิวรารามและอดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี เป็นรองประธาน มีคุณแม่วิลัย ธรรมรังษี เป็นผู้ถวายที่ดินสร้างวัดจำนวน ๖ ไร่ (ปัจจุบันทางวัดได้ซื้อเพิ่มเติมอีก ๒๒ ไร่ เป็น ๒๘ ไร่ )

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว พระธรรมปริยัติโมลี จึงสั่งให้ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะให้เหมาะสมแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรต่อไป และให้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดจากกรมการศาสนาให้ถูกต้องด้วย ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดหนองวัวซอธรรมรังษี เพื่อให้เป็นวัดของชาวบ้านหนองวัวซอทุกคน และมีนามสกุลของเจ้าภาพผู้ถวายที่ดินต่อท้ายชื่อวัดด้วยเพื่อเป็นเกียรติ์แก่วงศ์ตระกูลสืบไป

ทางชาวบ้านจึงได้ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆและได้ขออนุญาตสร้างวัดจากกรมการศาสนาในปีนั้น โดยมีผู้ใหญ่บุญมี แสนหอมคำ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านไร่สวรรค์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญนำพาชาวบ้านสร้างวัดและเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด

โดยมีหลวงพ่อคำใบ มารชิโน จากวัดโพธิวราราม จังหวัดอุดรธานีเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านมากได้นำพาญาติโยมก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ให้เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย เหมาะแก่การเป็นที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ของพระสงฆ์สามเณรตามลำดับมา

แต่การขออนุญาตจากกรมการศาสนายังไม่แล้วเสร็จ ท่านก็มรณภาพในปี ๒๕๓๓ ประชุมเพลิงในปี ๒๕๓๔ ในปีนั้นชาวบ้านได้อาราธนา พระมหาสังคม สิรินฺธโร จากวัดโพธิวราราม มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดจากกรมการศาสนาต่อ และได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ปลูกต้นไม้ภายในวัดให้ร่มรื่นเพื่อเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ต่อจากที่อดีตเจ้าอาวาสได้ทำไว้จนแล้วเสร็จเป็นลำดับมา

ในปี ๒๕๓๖ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนา

ในปี ๒๕๓๗ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดจากกรมการศาสนา และทางกรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดไร่สวรรค์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


ประวัติเจ้าอาวาส




พระครูธำรงสุตาภรณ์


ชื่อ พระมหาสังคม ฉายา สิรินฺธโร อายุ ๔๔ ปี พรรษา ๒๔
วิทยาฐานะ ม. ๖
น.ธ. เอก ป.ธ.๓ วัดไร่สวรรค์ ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี



สถานะเดิม

ชื่อ สังคม นามสกุล สีลาวงศ์
วันเกิด ๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ปีมะแม
บิดา นายสมดี มารดา นางอุดม
บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ที่ ๓ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี



อุปสมบท

วันที่ ๕ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ปีเถาะ ณ. วัดโพธิวราราม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พระอุปัชฌาย์ : พระธรรมปริยัติโมลี วัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พระกรรมวาจาจารย์ : พระครูสังฆรักษ์เสถียร วัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พระอนุสาวนาจารย์ : พระครูสมุห์ถวิล วัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี




วิทยฐานะ

พ.ศ. ๒๕๒๐ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านหนองวัวซอ ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๒๘ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ สำนักวัดโพธิวราราม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๓๑ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค สำนักวัดมัชฌิมาวาส ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๔๓ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี




งานปกครอง

พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดไร่สวรรค์
พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดไร่สรรค์
พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นเลขานุการเจ้าคณะตำบลหมากหญ้า




สมณะศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
                  เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ พระครูธำรงสุตาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร
                  เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก ที่ ราชทินนามเดิม



ที่มาของข้อมูล : พระครูธำรงสุตาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไร่สวรรค์

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัดบุญญานุสรณ์

วัดบุญญานุสรณ์

พิมพ์
ประวัติวัดบุญญานุสรณ์

    วัดบุญญานุสรณ์  ตั้งอยู่บ้านหนองวัวซอ  ถนนหนองวัวซอ – หนองบัวบาน  หมู่ที่  1  ตำบลหนองวัวซอ  อำเภอหนองวัวซอ  จังหวัดอุดรธานี  อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี  26  กิโลเมตรไปตามเส้นทางถนนสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู  ตั้งอยู่ห่างจากถนนประมาณ  50  เมตร  สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต  ที่ดินตั้งวัดมี  135  ไร่  3  งาน  30  ตารางวา  (น.ส. 4 จ.)  เลขที่  13079  อาณาเขตทิศเหนือประมาณ  10  เส้น  จดที่นาราษฎรชื่อ  นายคำ  บุญสร้าง  ทิศใต้ประมาณ  10  เส้น  จดโรงพยาบาลหนองวัวซอ  ทางทิศตะวันออกประมาณ  10  เส้น  จดถนนหนองวัวซอ-หนองบัวบาน ทิศตะวันตกประมาณ  10  เส้น  จดลำน้ำห้วยหลวง  มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน  4  แปลง  เนื้อที่  44  ไร่   3 งาน  6  ตารางวา 
อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถหลังเก่าเป็นอาคารคอนกรีต  สร้างเมื่อพ.ศ. 2490  ศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้  สร้าง พ.ศ. 2498  กุฏิสงฆ์จำนวน  46  หลัง  ศาลาอเนกประสงค์เป็นอาคารไม้ สร้าง พ.ศ. 2501  ศาลาบำเพ็ญกุศลสร้างด้วยคอนกรีต  โรงครัวและโรงน้ำร้อน  ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปปางสมาธิ  และภาพลายเส้นบนเพดานศาลาการเปรียญ
    วัดบุญญานุสรณ์  สร้าง พ.ศ. 2470  ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  14  สิงหาคม  พ.ศ. 2485 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร  ยาว  80  เมตร
    การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม  คือ
    รูปที่  1  พระเพชร  กิตฺติวณฺโณ      พ.ศ. 2469 – 2474
    รูปที่  2  พระวินัยธรวันดี        พ.ศ. 2474 – 2495
    รูปที่  3  พระครูประสาทสมณการ    พ.ศ. 2495 – 2503
    รูปที่  4  พระครูโสภณคณานุรักษ์    พ.ศ. 2503 – 2526
    รูปที่  5  พระครูประสิทธิ์คณานุการ    พ.ศ. 2526 – 2527
    รูปที่  6  พระครูสันติวรคุณ        พ.ศ. 2527 – 2545
    รูปที่  7  พระทองพูน  กาญฺจโน        พ.ศ. 2545   ถึงปัจจุบัน
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกธรรม  เปิดสอน  พ.ศ.  2494  ปัจจุบันได้ย้ายไปวัดศรีหมากหญ้า  เจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ  (ธ)